หน้าเว็บ

หน้าที่ 2 - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ SAN 2


Topology การเชื่อมต่อบนระบบ SAN

พื้นฐานของ SAN Topology มีหลายแบบ ดังต่อไปนี้

การเชื่อมต่อแบบ Switch Fabrics ตัวเดียว





เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อ SAN ที่เรียบง่ายที่สุด โดยประกอบด้วย Fiber Channel Switch 1 ตัว กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่จำกัดจำนวนของอุปกรณ์จัดเก็บ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนของ Port ที่ติดตั้งบน Switch fabric การเชื่อมต่อแบบนี้ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือกลาง 



การเชื่อมต่อแบบ Cascade Fabrics


ประกอบด้วยกลุ่มของ Switch fabric จำนวนหนึ่งนำมาพ่วงต่อกัน เหมาะสำหรับสถานที่ ๆ มีการจัดเก็บข้อมูลแบบแยกจากกัน หรือกระจายไปตามอาคารสถานที่ต่างๆ ที่แต่ละแห่งมีข้อมูลจัดเก็บปริมาณสูงมาก และต้องการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เฉพาะแห่ง รวมทั้งมีผู้ดูแลระบบเครือข่าย หรือ SAN แยกออกจากกัน
การออกแบบลักษณะเหมาะสำหรับการกระจายข้อมูลไปตามที่ต่างๆ หรือ แบบรวมศูนย์ก็ได้ อย่างไรก็ดี หากเราจะออกแบบในรูปแบบนี้ เราจะต้องระวังรูปแบบการไหล หรือทิศทางการไหลของ Traffic ให้ดี เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน อย่างไรก็ดี ระบบ Cascade เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ได้กระจัดกระจายไปตามสถานที่ต่างๆ และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อจะเป็นสายใยแก้วนำแสงที่ไม่มีปัญหาเรื่องของระยะทางการเชื่อมต่อ 




การเชื่อมต่อแบบ Mesh Fabrics


การเชื่อมต่อแบบ Mesh Fabrics ประกอบไปด้วย กลุ่มของ SAN Switch Fabric ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกัน ชนิดที่มีสายสัญญาณเชื่อมต่อมากกว่าหนึ่งเส้น จุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหา การหยุดชะงักการเชื่อมต่อ หากสายสัญญาณการเชื่อมต่อบกพร่อง ซึ่งในลักษณะนี้ หากสายสัญญาณ เส้นใดเส้นหนึ่ง เกิดหลุด หรือหยุดทำงาน ก็จะมีเส้นสัญญาณอื่นๆ ทำหน้าที่แทนในทันที 
ในกรณีที่ระบบ SAN มีขนาดใหญ่ และเติบโตมากขึ้น ไม่ว่า จะเป็นการเติบโตในแนวดิ่งหรือแนวนอนก็ตาม เราก็สามารถขยายรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Mesh ออกไปทางแนวนอนได้เป็นอย่างดี การเชื่อมต่อแบบ Cascade เหมาะสำหรับแอพพลิเคชั่นใดๆ ที่มี ข้อมูลที่จะถูกนำใช้ภายในสถานที่ หรือ Local หรือกระจายออกไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย แน่นอน และพร้อมที่จะให้ข้อมูลเสมอ เนื่องจากการเชื่อมต่อมีมากกว่าหนึ่งช่องทาง และพร้อมที่จะทดแทนกัน เมื่อใดที่การเชื่อมต่อเส้นใดเส้นหนึ่งเกิดสะดุดลง



การเชื่อมต่อแบบ Ring


จัดสร้างการเชื่อมต่อง่าย Switches ที่เป็นแบบ Fiber Channel นี้ สามารถสนับสนุนการเชื่อมต่อของเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนในการออกแบบ สามารถขยายให้เป็นระบบ SAN ขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น สนับสนุนการทำสำรองข้อมูลร่วมกัน กับ Switches อื่นๆภายในระบบ SAN หมายความว่า ภายใต้การเชื่อมต่อแบบ Ring นี้ ผู้ดูแลเครือข่ายหลายคน ต่างก็สามารถแบ่งหน้าที่สำรองข้อมูล กันเองได้ สนับสนุนการบริหารจัดการร่วมกันได้ ให้ประสิทธิภาพการ Access เข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ หรือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ภายใน Switches ได้ดีกว่า เร็วกว่า การเชื่อมต่อแบบอื่นๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น