หน้าเว็บ

หน้าที่ 3 - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ SAN 3


Topology การเชื่อมต่อบนระบบ SAN (ต่อ)

การเชื่อมต่อแบบ Back Bone Fabric


เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วย Fiber Channel Switches จำนวนหนึ่ง ที่อุทิศเพื่อการเชื่อมต่อกับ Switches ตัวอื่นๆ ภายใน Fabric เดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า อุปกรณ์ที่เป็น Switches เหล่านี้มิได้เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรง แต่ทำหน้าที่เป็น Back Bone เพื่อการเชื่อมต่อกับ Switches ตัวอื่นๆ เนื่องจาก Switches เหล่านี้ มีแบนด์วิดช์ที่สูงกว่า และมีการเชื่อมต่อหลายเส้นทางกับ Switches ตัวอื่นๆ ดังนั้นการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ มักจะถูกเรียกว่า เป็นการเชื่อมต่อแบบ many-to-many Connection หรือความเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ระหว่าง Switches หมู่มากกับ Switches หมู่มากด้วยกัน ที่มีความเร็วสูง รูปแบบการเชื่อมต่อ การเชื่อมต่อแบบ Back Bone Fabric นี้เหมาะสำหรับ Application หรืองานที่ต้องการ แชร์ใช้งานข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ จาก Server หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ต่าง Switches กัน หลายๆที่ ๆต้องการความเร็วสูง แทนที่จะเชื่อมต่อกันระหว่าง Switches Fabric ด้วยกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานระหว่าง Switches ดังนั้น การเชื่อมต่อผ่านทาง Back Bone Switches จะให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า เนื่องจาก มีอัตราความเร็วในการเชื่อมต่อสูง



การเชื่อมต่อแบบ Hierarchical


เป็นการเชื่อมต่อแบบเป็นลำดับขั้น ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งระบบ ได้ดี ลองคิดดูว่า หากเอา Switches ต่างๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นแนวยาว แบบพ่วงต่อกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาทางด้าน Latency หรือค่าหน่วงเวลาจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากจำนวนของ Hop จะมีมาก ซึ่งข้อจำกัดของการเชื่อมต่อของ Switches บน SAN ได้แก่ การเชื่อมต่อจะต้องไม่เกิน 7 Hop ดังนั้น หากการพ่วงกันระหว่าง Switches ก่อให้เกิดจำนวน Hop มากกว่า 7 Hop ให้ใช้การเชื่อมต่อแบบ Hierarchical ได้ รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Hierarchical
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Hierarchical เป็นไปในลักษณะต้นไม้ หรือแบบขั้นบันได 




คำศัพท์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ SAN

Fabric Switches : หมายถึงอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆภายใน Topology การเชื่อมต่อของ SAN อย่างเช่น Switches ที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ จัดเก็บข้อมูลหรือ Server รวมทั้งระหว่าง Switches ด้วยกัน เป็นต้น 

Fiber Channel : เมื่อพูดถึงในทางตรรก คำว่า Fiber Channel หมายถึงโครงสร้างการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลแบบ 2 ทิศทาง เชื่อมต่อกันแบบจุดต่อจุด และสื่อสารข้อมูลแบบสวนทางกัน (Full Duplex) การไหลของข้อมูลเป็นแบบอนุกรม แต่เมื่อพูดถึงในแง่ทางกายภาพ แล้ว Fiber Channel ประกอบขึ้นด้วย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง ตัว Switches Hub สายสัญญาณ ใยแก้วนำแสง รวมทั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่มาเชื่อมต่อกับ ผ่าน N_Port และมีรูปแบบ Topology การเชื่อมต่อแบบ ระหว่างจุด (Point - to -Point) หรือแบบ Arbitrated Loop 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น