หน้าเว็บ

หน้าที่ 4 - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ NAS


เบื้องต้นเกี่ยวกับ NAS 

ในปัจจุบันนอกจากไฟล์เอกสารที่มีแต่ข้อความแล้วยังมีไฟล์รูปภาพกราฟิก หรือแม้แต่ข้อมูลวิดีโอซึ่งต้องการใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จำนวนมาก วิธีแก้ทางหนึ่งก็คือการใช้ Network-Attached Storage(NAS) ในระบบเน็ตเวิร์กภายในองค์กร 

Network-Attached Storage (NAS) เป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มอุปกรณ์เก็บข้อมูลให้กับเน็ตเวิร์กขององค์กร โดยที่ NAS ไม่ได้มีความสามารถในการประมวลผลพิเศษ แต่ว่า NAS เป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยที่มีราคาถูก และง่ายต่อการใช้มากกว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากราคาของระบบที่ถูกกว่าการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์แล้ว ระบบ NAS นี้ยังสามารถติดตั้ง ใช้งาน และดูแลได้ง่ายโดยใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กสามารถตรวจสอบ และดูแล NAS ได้โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการที่ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที


5564


NAS (Network Attached Storage) มีสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้ม โดยมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเชื่อมต่อโดยตรงเข้าไปที่อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Ethernet Switching Hub ประกอบด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย IP รูปแบบการเชื่อมต่อลักษณะนี้ จะสนับสนุนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย IP สามารถ Access หรือเข้าถึงเพื่อใช้งาน NAS ในระดับของแฟ้มข้อมูล การส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์จัดเก็บเป็นการวิ่งบนระบบเครือข่าย LAN และเนื่องจากระบบนี้มีการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ทั่วไปและเป็นที่รู้จัก ดังนั้นจึงสามารถบริหารจัดการได้ง่าย โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายสามารถจะดูแลได้โดยได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐานก็เพียงพอแล้ว ส่วนคุณประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือความยืดหยุ่น เนื่องจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยตรง ทำให้การติดตั้งทำได้ง่าย แต่ข้อเสียคือ หากมีปริมาณการดึงข้อมูลออกมาจากอุปกรณ์จัดเก็บมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย เว้นเสียแต่ว่าเครือข่ายดังกล่าวมีประสิทธิภาพความเร็วสูง

ระบบ NAS เป็นระบบที่ให้บริการแก่คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระดับของแฟ้มข้อมูล โดยเฉพาะโปรโตคอลที่จัดการเรื่องการแชร์แฟ้มข้อมูลอย่างเช่น NFS และ CIFS ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรที่ติดตั้งอุปกรณ์ NAS นี้ก็เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น หรือเพื่อบริหารไฟล์ข้อมูลเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันสามารถรองรับการทำงานของแอพพลิเคชันและฐานข้อมูลด้วย NAS ที่ประยุกต์การใช้งานแบบวินโดวส์ ซึ่งเราสามารถจัดการกับอุปกรณ์ประเภทนี้แบบเดียวกับวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ทั่ว ๆ ไป 

ซอฟท์แวร์สำรองข้อมูลสามารถติดตั้งลงไปในอุปกรณ์ NAS ได้โดยตรง การที่เทปไดรฟ์เชื่อมต่อโดยตรงกับอุปกรณ์ NAS ช่วยให้เราสามารถทำการสำรองข้อมูลแบบโลคอลได้ ดังนั้นระบบจึงไม่จำเป็นต้องโอนถ่ายข้อมูลสำรองผ่านเครือข่าย TCP/IP อีกต่อไป ผลที่ตามมาก็คือประสิทธิภาพในการสำรองข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น




 

NAS นั้นเปรียบเสมือนกับว่าเป็นระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดย Client หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโปรโตคอล เช่น TCP/IP และผ่านทางแอพพลิเคชัน เช่น NFS (Network File System) หรือ CIFS (Common Internet File System) โครงสร้างของ NAS นั้นเน้นการให้บริการด้านไฟล์ ดังนั้นจึงช่วยให้การจัดการ การเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก NAS จะซ่อนข้อมูลมากมายเกี่ยวกับรายละเอียดของไฟล์ต่างๆ เอาไว้
NAS จะใช้ในการส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ SAN และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย โดย LAN และ WAN จะมีการบังคับแพ็กเก็ตขนาดใหญ่ให้แตกออกเป็นชิ้นย่อยในการส่ง ดังนั้นจำนวนแพ็กเก็ตยิ่งมากเท่าใด การใช้ทรัพยากรก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการทำให้ซีพียูต้องทำงานหนัก NAS จึงไม่เหมาะที่จะไว้ใช้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ

 



แสดงโครงสร้าง Network Attached Storage (NAS)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น